วันรู้หนังสือ 8 กันยายน 2567

8 กันยายน 2567



ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมเฉลิมฉลองวันรู้หนังสือสากล ประจำปี 2567 ในหัวข้อ มรดกภาษาผ่านพจนานุกรมชาติพันธุ์
พบกับ

01:37 การจัดทำพจนานุกรม
โดย ผศ.ดร.มยุรี ถาวรพัฒน์
นักภาษาศาสตร์ ที่มีประสบการณ์การจัดทำพจนานุกรมหลายเล่มหลายภาษา

07:50 พจนานุกรมภาษาชอง-ไทย-อังกฤษ
โดย รศ.ดร.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร
ประสบการณ์ของนักภาษาศาสตร์ในการเก็บข้อมูลและบันทึกภาษาชอง

11:26 พจนานุกรมภาษาแสก
จวง ก้อนกั้น
ปราชญ์ภาษาและวัฒนธรรมแสก คณะจัดทำพจนานุกรมแสก บ้านบะหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม

17:10 พจนานุกรมภาษากะซอง
สมศรี เกตุถึก
ปราชญ์ภาษากะซอง ผู้จัดทำพจนานุกรมกะซองจนได้ถึง 2,700 กว่าคำ ทั้งเก็บ บันทึก และตรวจทานคำศัพท์ให้ถูกต้อง
เสวย เอกนิกร
ทีมวิจัยชาวกะซอง คณะจัดทำพจนานุกรม และฟื้นฟูภาษากะซอง บ้านคลองแสง อ.บ่อไร่ จ.ตราด

22:34 พจนานุกรมคำศัพท์หมวด มลายูปาตานี-ไทย-มาเลเซีย (รูมี-ยาวี)
ฉบับเพื่อการสื่อสารและการศึกษา
อาจารย์ แวมายิ ปารามัล
ผู้เชี่ยวชาญภาษามลายู ผู้จัดทำพจนานุกรมภาษามลายู
อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

35:33 พจานุกรม 4 ภาษา
อูรักลาโวยจ-มาเลเซีย-ไทย-อังกฤษ
อาจารย์รุสดี มาซอ
อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายูและมลายูศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สมจิตร ทะเลลึก
ปราชญ์ชุมชนชาวอูรักลาโวยจ และคณะจัดทำพจนานุกรมภาษาอูรักลาโวยจ

ร่วมค้นหาคำตอบในการจัดทำพจนานุกรมชาติพันธุ์
พจนานุกรมทำอย่างไร? พจนานุกรมมีแบบไหนบ้าง? มีเทคนิคการเก็บข้อมูลคำศัพท์อย่างไร?
จดบันทึกคำศัพท์อย่างไร? พจนานุกรมจะช่วยอนุรักษ์ภาษาของกลุ่มชนได้อย่างไร?
บทบาทของพจนานุกรมในการรู้หนังสือคืออะไร? แรงบันดาลใจในการจัดทำพจนานุกรมภาษาชาติพันธุ์?
พจนานุกรมมีประโยชน์กับใครบ้าง?

#วันรู้หนังสือสากล #การรู้หนังสือ #มรดกภาษา #พจนานุกรม #พจนานุกรมภาษาชาติพันธุ์ #ภาษาชาติพันธุ์ #InternationalLiteracyDay #ILD #LiteracyDay2024 #ILD2024 #Dictionary #EthnicLanguageDictionary #CDRELC

No Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *