ทำไมการบอกว่าอะไรดีหรือไม่ดีจึงยาก แล้วเราควรเลือกทางไหนดี?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่อง Trolley Problem หรือปัญหารถราง การทดลองทางความคิดเชิงปรัชญา ที่มีสถานการณ์สมมติว่า หากเราเป็นคนขับรถรางแล้วเห็นว่าข้างหน้ามีคน 5 คนอยู่บนราง แต่เราสามารถสับรางเพื่อเปลี่ยนไปอีกเส้นทาง แต่จะทับคน 1 คนแทน เราจะเลือกทางไหน?
จากสถานการณ์สมมตินี้นำมาสู่คำถามสำคัญทางปรัชญาว่า สรุปแล้วความดีคืออะไร เรามีมาตรวัดความดีที่เป็นสากลไหม การกระทำหนึ่งๆ ดีเพราะตัวการกระทำ หรือดีเพราะผลลัพธ์กันแน่ แล้วในชีวิตจริงล่ะ หลักการไหนถึงจะเป็นทางเลือกที่ดีและถูกต้อง?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Time Index:
00:00 Highlights
00:42 ความดีวัดได้จริงไหม?
14:41 Trolley Problem
37:16 ตัวอย่าง Trolley Problem ในชีวิตจริง
41:01 คำถามทิ้งท้าย
อ้างอิง:
1. ประเด็นเรื่องโครงการเติมคนดีให้สังคม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ‘รด. ร้องโครงการเติมคนดี 1 ล้านคนให้สังคม ทำไม่ได้ต้องซ้ำชั้น ถามทำด้วยใจหรือบังคับ’ (https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9407493)
2. ใครสนใจปรัชญาจริยศาสตร์ (Ethics) ขั้นพื้นฐาน ผมแนะนำหนังสือภาษาไทย 3 เล่ม คือ
‘ความยุติธรรม’ โดย ไมเคิล แซนเดล แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล สำนักพิมพ์ซอลท์ (https://salt.co.th/product/justice/)
‘ปรัชญาทั่วไป’ โดย โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์(https://www.chulabook.com/history-religion-culture-politics-government/25620)
‘จริยศาสตร์ภาคปฏิบัติ’ (Practical Ethics) โดย ปีเตอร์ ซิงเกอร์ แปลโดย เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ สำนักพิมพ์คบไฟ(https://www.chulabook.com/history-religion-culture-politics-government/174539)
3. อ่านข้อถกเถียงและการประยุกต์ใช้แนวคิด ‘Trolley Problem’ ทั้งในทางปรัชญา การเมือง เศรษฐศาสตร์ และประสาทวิทยาศาสตร์ ได้จาก
‘Trolley problem #1: การเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นเรื่องที่ถูกต้องทางจริยธรรมเสมอไปหรือไม่?’ โดย ตะวัน มานะกุล (https://www.the101.world/hard-choices-ep-1/)
‘ความเหลื่อมล้ำที่ไม่เหมาะสม ความหงุดหงิดที่ชอบธรรม’ โดย ตะวัน มานะกุล (https://www.matichonweekly.com/column/article_746374)
‘สมองเราเป็นอย่างไร เมื่อต้องตัดสินใจเชิงจริยธรรม’ โดย ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ (https://www.the101.world/brainbug-ep-7-trolley-problem/)
‘จะปล่อยให้คนเดียวตายหรือว่าห้าคนตายดี’ โดย ณัฐวุฒิ เผ่าทวี https://thaipublica.org/2015/04/nattavudh-14/)
4. ข้อถกเถียงของ ฟิลิปปา ฟุต ที่พูดถึงในอีพีนี้มาจากบทความ ‘The Problem of Abortion and the Doctrine of the Double Effect’ (https://philpapers.org/archive/footpo-2.pdf)
5. เข้าไปเล่น Moral Machine ได้ที่ https://www.moralmachine.net/ และอ่านข้อถกเถียงเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ใน ‘Should a self-driving car kill the baby or the grandma? Depends on where you’re from’ (https://www.technologyreview.com/2018/10/24/139313/a-global-ethics-study-aims-to-help-ai-solve-the-self-driving-trolley-problem/)
กดติดตาม และ กดกระดิ่ง: https://bit.ly/45KZn3w
ติดตาม THE STANDARD PODCAST ในช่องทางอื่นๆ
Website: https://www.thestandard.co/podcast
Twitter: https://twitter.com/TheStandardPod
Facebook: https://www.facebook.com/thestandardth
TikTok: https://www.tiktok.com/@thestandard.podcast
Spotify: https://bit.ly/3NhRWZg
Apple Podcasts: https://bit.ly/42OGIkI
SoundCloud: https://soundcloud.com/thestandardpodcast
#Trolley #TrolleyProblem #Shortcutปรัชญา #TheStandardPodcast #TheStandardTh #TheStandardCo #podcast
20 Comments
Time Index:
00:00 Highlights
00:42 ความดีวัดได้จริงไหม?
14:41 Trolley Problem
37:16 ตัวอย่าง Trolley Problem ในชีวิตจริง
41:01 คำถามทิ้งท้าย
1:15 มีค่าาไม่ทำติดมผ.ด้วยแย่มากก
มันมีคุณสมบัติแบบ อัตวิสัย (Subjectivity) แตกต่างไปตามแต่ละคน มีลักษณะเชิงสัมพัทธนิยม (Relativism) ที่กำหนดโดยข้อตกลงทางสังคมเพื่อให้ยอมรับว่าเป็นวัตถุวิสัย (Objectivity) แต่แท้จริงไม่ใช่ สิ่งเหล่านี้ทำให้บุคคลและสังคมมีมาตรวัดเรื่อง ถูกผิดดีชั่ว แตกต่างกันไปตามมโนธรรมสำนึกที่หล่อหลอมมาจากสังคมประกิต และจากระดับของการตัดสินจากระดับอารมณ์ความรู้สึกไปจนถึงระดับความรู้ในด้านจริยศาสตร์ Ethics) ไปจนถึงความเชื่อในอภิปรัชญา (Metaphysics) ที่เชื่อต่างกัน จึงยากจะให้การตัดสินดังกล่าวจะไปในทิศทางเดียวกันเพราะมันเป็นนามธรรม ไม่อาจจะนำมาชั่งตวงวัดกันได้แบบวิทยาศาสตร์ครับ
ฟังเพลินมากครับ รบกวนขอ shortcut ของ ฆีออร์ค เอฟ เอช เฮเกล ครับ
2:34 initiating social credit score.
อธิษฐานขอให้พระเจ้าช่วยตัดสินใจแทน แล้วโยนเหรียญ หัว-ก้อย
การที่หมอไปฆ่าคนที่ไม่ได้ทำอะไรผิดเพื่อไปช่วยคนอื่นหลายคน ผลกระทบมันไม่ได้จบที่มีคนตาย 1 คนน่ะสิครับ
แปลว่าทุกคนมีสิทธิโดนบูชายันเพื่อให้คนอื่นจำนวนมากกว่า 1 คนมีชีวิตรอด
จะสร้างความวิตกในสังคมและความไม่เท่าเทียมว่าใครจะถูกเลือกไปตาย
ถ้าเปลี่ยนคน 1 คนที่ไม่ได้ทำอะไรผิดเป็นนักโทษประหาร อาจจะง่ายขึ้นเพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะโดนโทษประหาร
หลานเรียนรด ก็โดนบังคับให้ทำ และยังต้องมี downline เพิ่มอีก 4 คนเพื่อทำความดีเพิ่มเข้าไปอีก ถึงจะผ่านด้วยครับ
นั่นอาจไม่ใช่แค่การทำดี แต่นั่นเป็นการทำฟรีด้วย ก็เป็นได้
สร้างภาพ ต้องถือกล้อง
ตอบคำถามรถรางว่าการกระทำไหนถูกต้องครับ ผมจะปล่อยให้รถรางวิ่งไปบนทางของมันแม้จะทับคน 5 คน ครับ ถ้าการวิ่งทางตรงบนรางนี้คือความปกติ คน 5 คน ไม่สมควรมานอนขวางบนทางที่ควรจะเป็น ไม่ถูกไม่ผิด ไม่ดีไม่ชั่ว รถของผมมันแค่วิ่งตรงไปของมันอย่างนั้น (คิดแบบเร็วๆขอตอบประมาณนี้ก่อนครับ)
ไม่แน่ใจว่าหลักการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มันไปตรงกับกลุ่มนักคิดไหนรึเปล่า แต่เรามองว่า “การทำดีมันต้องดีใจทุกการตัดสินใจ” เพราะ process ที่ดีจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ เราไปรอว่าเราตัดสินใจแบบอิเหละเขะขะ หลับหูหลับตาทำแล้วผลักภาระไปว่า “ก็คิดว่าผลลัพธ์มันจะดี“ มันไม่มีทางที่จะดีได้เท่าแบบแรก เพราะพื้นฐานมันไม่มีอะไรดีเลย
ยกตัวอย่างจากวงการวิจัยและการทดลองที่ได้สัมผัสมาแล้วกัน แน่นอนว่าผลลัพธ์ของวงการนี้มันคือผลงานวิชาการตีพิมพ์ ในโลกแห่งความจริงก็มีคนตกแต่งผลการทดลองเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาสวย โปรไฟล์เราก็ดี เรียนจบก็เร็ว แต่พฤติกรรมแบบนี้ความจริงแล้วมันจะส่งผลถึงชุดความคิดไปด้วยว่า ”ทำผิดเพื่อให้ผลดีก็ได้ (ตราบใดที่ไม่มีใครมาตรวจสอบ)“ เพราะผลงานของคุณมันไม่ได้ถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ในทุกขั้นตอน ดังนั้นถ้าใครถาม หรือมีการตรวจสอบขึ้นมา ก็เรียกว่า ซวยกันทั้งบาง ทั้งตัวคุณเอง อาจารย์ที่ปรึกษา สถาบัน แม้กระทั่งรุ่นน้อง รุ่นพี่ของคุณจะโดนตั้งคำถามในความสามารถไปหมด ตลอดการเรียนหลายปีทำให้รู้ว่า การตัดสินใจจะคงตัวอยู่ในความดีและความถูกต้องตลอดเวลา จริงๆ มันยากมากนะ แค่ก้าวเท้าผิดไปครั้งเดียว คุณอาจไม่สามารถไปสู่เส้นทางที่ดี ที่ถูกต้องได้อีกเลย แต่การต้องฝึกฝนสิ่งนี้หลายปีมันก็ทำให้เรา คิดถึงเรื่องความถูกต้องอยู่เสมอ ต่อให้มันจะไม่ได้พาเราไปสู่จุดที่ดีที่สุดเทียบเท่ากับคนที่ใช้วิธีการอื่น แต่มันจะไม่ทำให้เราตกต่ำแน่ ๆ
ส่วนเรื่อง ศีล จริง ๆ มันมีดีเทลมากกว่านั้น อย่างเรื่องขับรถไฟ ถ้าเอาตามหลักการของศีล 1) สิ่งนั้นมีชีวิต 2) รู้ว่าสิ่งนั้นมีชีวิต 3) คิดจะฆ่าสิ่งนั้น 4) มีความเพียรที่จะทำให้ตาย 5)สัตว์นั้นตายลงด้วยความเพียรนั้น คนขับรถไฟก็ไม่รู้ว่าคนยังมีชีวิตอยู่ไหม และไม่ได้คิดจะฆ่า และไม่ได้มีความเพียรที่จะทำให้ตาย มันก็ไม่ได้ผิดศีลนะคะ ไม่ได้ถือว่าทำความดี แต่ก็ไม่ชั่ว สมัยพุทธกาล อริยสงฆ์ ที่ตาบอดและเหยียบมด สัตว์เล็ก ๆ ตายก็มี แต่มโนกรรมมันไม่เกิด มันก็ไม่ได้ต้องโทษอาบัติ
ยกตัวอย่างเคสที่ใกล้กว่านั้น ระหว่าง
1.จับคนสมัครใจ 100 คนมารมเชื้อเพื่อทดสอบวัคซีนโควิด19 เพื่อเซฟคนนับล้าน
กับปล่อยให้เชื้อแพร่กระจายไปเรื่อยๆ ค่อยๆทดสอบในสัตว์ทดลองต่อไป เสียเวลาเป็นปี
อเมริกาเลือกที่จะปล่อยให้เป็นอย่างหลัง
2.เราสามารถโคลนนิ่งนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อพัฒนาโลกให้ไกลยิ่งขึ้น
แทนการโคลนแค่แกะ เพราะติดเรื่องจริยธรรมการทดลอง แต่โลกเลือกที่จะไม่ทำอย่างนั้น
ผมอยากถามความคิดเห็นคนดูคลิปนี้ มีแนวคิดอย่างไรบ้างครับ
ถ้าเป็นระดับการปกครองเจอเหตุการณ์ที่ต้องเลือกแบบนี้อยู่
สมมุติมีงบก้อนเงินใช้ป้องกันน้ำท่วมให้กลุ่มเล็ก แต่รัฐไม่มีงบพอ ต่อมางบไม่พอสำหรับ คนกลุ่มใหญ่
รัฐต้องเลือกระหว่างปล่อยให้น้ำไม่ท่วมกลุ่มเล็กๆหรือโยกงบไปให้กลุ่มใหญ่แล้วปล่อยให้กลุ่มเล็กท่วม
ซึ่งในการปกครองแทบจะยึดหลักประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
เทียบกับ trolley problem คือ โยกรถไฟไปเหยียบ 1 คนแทน
โดดออกจากรถรางเพราะไม่อยากฆ่าใคร ผิดกฎหมายข้อหาละเลย แต่สำเร็จโทษตัวเองไปแล้ว😂
มีคนบอกว่าถ้าปล่อยให้รถวิ่งปกติแล้วไปเหยียบ5คน เวลาขึ้นศาลเราจะอธิบายได้ง่ายกว่า (รอดตัวง่ายกว่า) 😅
Super Thanks ถือเป็นหนึ่งในการทำความดีมั้ยครับ 😸
สำคัญที่เจตนาปล่อยรถร่างไปตามทางของมันแม้จะเหียบ5คนก็ตาม ถ้าเลือกสับรางก็เท่ากับมีเจตนาฆ่าคน แม้จะเศร้าที่ 5 คนต้องตายแต่ก็ไม่ได้มีเจตนาที่ต้องฆ่า แล้วที่สำคัญไม่มีใครควรไปอยู่บนรางแบบนั้นตั้งแต่แรกครับ
ถ้าเป็นคนขับรถไฟ จะดูก่อนว่าบนรถไฟที่บรรทุกอยู่คืออะไร ถ้าไม่มีคนอยู่ก็คงเบรคให้รถไฟมันตกรางไปเลย อย่างน้อยเราก็ได้ทำอย่างเต็มที่เพื่อไม่เหยียบใครแล้ว สินค้าทั้งหมดมันทำใหม่ได้ แต่ชีวิตคนมันกู้คืนไม่ได้
จริง ๆ ก็ตอบยาก เพราะว่ามันมีปัจจัยอีกล้านแปดที่ตัดสินใจได้มากกว่าแค่จะเหยียบกี่คน
จอดรถไฟครับ ไม่ก็โดดลง 555