หลวงปู่เกลี้ยง เตชธัมโม
หลวงปู่เกลี้ยง เตชธัมโม ถือเป็นพระคณาจารย์รูปหนึ่งที่มีความรอบรู้หลากหลายศาสตร์หลายแขนง ได้นำความรอบรู้และแม่นยำของท่านช่วยให้ผู้คนพ้นเคราะห์ พ้นอันตราย ให้ได้รับผลสมความปรารถนามากมาย ปัจจุบันหลวงปู่เกลี้ยง หรือพระครูโกวิทพัฒโนดม สิริอายุ 100ปี พรรษา 32 เป็นเจ้าอาวาสบ้านโนนแกด ต.ทุ่ม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
อัตโนประวัติ หลวงปู่เกลี้ยงเกิดในสกุล คุณมะนะ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2451 ที่บ้านก้านเหลือง ต.หมากเขียบอ.เมือง จ.ศรีสะเกษ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายบุญมี และนางผิว คุณมะนะมีพี่น้องทั้งหมด 7 คน เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดาก็เสียชีวิตสร้างความลำบากให้ครอบครัวไม่น้อย มารดาจึงต้องอพยพพาลูกๆ มาอยู่บ้านโนนแกด ต.ทุ่มอ.เมือง จ.ศรีสะเกษ จากนั้นเข้าเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนวัดบ้านโนนแกดจนจบชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 และเรียนต่อม.3 จบในปีพ.ศ.2466 จึงออกมาช่วยมารดาประกอบอาชีพ เพื่อช่วยเหลือครอบครัว
พ.ศ.2467 เป็นครูช่วยสอนครั้งแรกที่โรงเรียนวัดบ้านโนนแกดก่อนถูกย้ายไปสอนที่ โรงเรียนบ้านโพรง อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ เป็นเวลา 3 ปีครึ่งในขณะที่สอนหนังสืออยู่นั้น สุขภาพร่างกายไม่ค่อยสู้ดี จึงขอลาออกมาเพื่อรักษาตัวเมื่อสุขภาพดีขึ้น ท่านจึงขอลาบวชสามเณร ที่วัดบ้านโนนแกด ด้วยความอยากเรียนต่อกอปรกับได้เคยทำการสอนมาแล้วจึงมองเห็นความสำคัญของการ ศึกษาท่านได้ขออนุญาตเจ้าอาวาสไปเรียนนักธรรมที่วัดบ้านดวนใหญ่ อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ เมื่อสอบนักธรรมชั้นตรีได้แล้วท่านอยากเรียนต่อนักธรรมชั้นโท แต่วัดบ้านดวนใหญ่ ยังไม่มีการเปิดสอนจึงขอลาเจ้าอาวาสวัดบ้านดวนใหญ่ไปศึกษานักธรรมชั้นโทที่จ .บุรีรัมย์
ในขณะที่ศึกษาอยู่นั้นทางราชการมีหมายเรียกให้เข้ารับการเกณฑ์ทหารจำเป็น ต้องลาสิกขาท่านเข้ารับการฝึกเป็นเวลา 6 เดือน ก่อนได้รับคัดเลือกเข้าเรียนต่อนายสิบทหารท่านได้มาประจำการและออกปฏิบัติ การสงครามมหาเอเชียบูรพานาน 2 ปี 7 เดือนก่อนย้ายกลับมาเป็นเสมียนสัสดีที่อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ทำงานในตำแหน่งนี้ได้ 2 ปีเศษท่านต้องออกจากงาน เพราะมารดาเสียชีวิตไม่มีใครดูแลน้องเนื่องจากเป็นคนที่มีความรู้และมีใจ ยุติธรรมชาวบ้านจึงแต่งตั้งให้เป็นตุลาการประจำหมู่บ้าน ต่อมา ได้แต่งงานกับนางเลิงคุณมะนะ และมีธิดาด้วยกัน 1 คน ในชีวิตฆราวาส ได้อาศัยประสบการณ์ในการรับราชการทหารช่วยรักษาพยาบาลชาวบ้านด้วยยาสมุนไพร ผู้คนที่ป่วยก็หายป่วยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ชาวบ้านใกล้และไกล ต่างเข้ามาขอรับการรักษาเกิดความเลื่อมใสศรัทธาและเป็นที่กล่าวขาน
นายเกลี้ยงไม่เคยใช้ชีวิตหยุดนิ่งอยู่กับที่ ยังได้ศึกษาธรรมะที่ตัวเองชอบได้ศึกษาพระคาถา พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระคาถาจักราวุธโองการพระเจ้า 5 พระองค์ด้วยความอยากรู้และใฝ่เรียน ท่านได้ไปเรียนวิชากับอาจารย์บานเรียนจนอาจารย์ไม่มีอะไรจะสอนอีก อาจารย์บานจึงแนะนำให้บวชธรรมและศึกษาพระคาถาอีกมากมาย ท่านมีความชำนาญด้านคาถาอาคมการรักษาพยาบาลด้วยสมุนไพร จนเป็นที่เลื่องลือและมีคนสมัครเป็นศิษย์มากมายท่านก็รับเป็นศิษย์โดยจะบวช ธรรมให้ถ่ายทอดวิชาทุกอย่างขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนว่าทำได้ตามข้อห้ามที่ บอกหรือไม่
พ.ศ.2518 จึงบอกกล่าวกับครอบครัวจะขออุปสมบท ทางครอบครัวอนุโมทนาด้วยท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 ที่วัดบ้านแทงต.ซำ อ.เมืองจ.ศรีสะเกษ โดยมีพระเกษตรศีลาจารย์ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ต.เมืองใต้ อ.เมืองจ.ศรีสะเกษ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูประศาสน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระสมุห์บุญทัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ของหลวงปู่เกลี้ยงชอบทำงานเพื่อส่วนรวมของประชาชนเป็น ประจำ บ่อยครั้งที่บรรดาลูกศิษย์ไปวัดบ้านโนนแกดจะไม่พบท่านในกุฏิ แต่จะต้องเดินทางไปตามหมู่บ้านใกล้บ้างไกลบ้างตามแต่งานที่กำลังให้ความช่วย เหลืองานก่อสร้างถนนใหม่หรือการซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างจะได้รับความสนใจเป็นที่ ยิ่งจะพบเห็นได้จากผลงานการให้ความช่วยเหลือวัดต่างๆ มิใช่เพียงแต่ในจ.ศรีสะเกษเท่านั้นแต่ยังให้ความช่วยเหลือวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้ร้องขอมาท่านจะให้การสนับสนุนทุกแห่งหลวงปู่ เกลี้ยงยังให้การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบเคราะห์ชะตากรรม ต่างๆซึ่งไม่อาจรักษาให้หายได้จากสถานพยาบาล โดยการให้การรักษาของหลวงปู่เป็นยาตามตำรับแพทย์แผนโบราณและจากความเชื่อ ศรัทธา ทำให้ทุกคนหายเจ็บป่วยถ้ามาหาทันเวลาและอยู่ในวิสัยที่จะหายไข้ได้
หลวงปู่เกลี้ยงเป็นพระสุปฏิปันโน คือ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบข้อธรรมที่ท่านนำมาถ่ายทอดแก่บรรดาญาติโยม ยากจะหาพระรูปใดเสมอเหมือนด้วยท่านจะสอนแต่เฉพาะผู้สนใจใฝ่รู้เท่านั้น
หลวงปู่เกลี้ยงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูโกวิทพัฒโนดม พร้อมตาลปัตรพัดยศ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2534 แม้ทุกวันนี้ หลวงปู่เกลี้ยงจะย่างอายุเข้าล่วงวัยไม้ใกล้ฝั่งแต่ท่านยังเอาใจใส่ทำงาน เพื่อส่วนรวมเช่นเดิม โดยมิได้หยุดหย่อนสมกับเป็นปูชนียบุคคลแห่งอีสานโดยแท้
One Comment
สาธุ สาธุ สาธุ