แนวคิดในหนังสือเล่มนี้เน้นเรื่องการทำธุรกิจ แต่ก็สอนว่าให้มองทุกอย่างเป็นการทดลอง ความผิดพลาดไม่ใช่ความล้มเหลว เพราะอย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้จากมัน หลังจากนั้นก็แค่เริ่มการทดลองใหม่แค่นั้นเอง
ซื้อหนังสือ
Shopee
• https://atth.me/go/RS11gQQM
Lazada
• https://atth.me/go/x2uRpkhs
00:00 เริ่ม
00:22 Lean Startup คืออะไร
01:57 การสร้างผลิตภัณฑ์
04:05 วัดผล
04:43 จะเดินหน้าต่อ หรือเปลี่ยนแผน
06:37 สรุป
แนวคิด Lean Startup
แนวคิดของ Lean Startup เกิดมาเพื่อแก้ปัญหาขององค์กรที่ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมักเสียเวลาและเงินไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีใครต้องการขึ้นมา
เพราะเพราะปัญหาคือบริษัทที่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง ผลิตภัณฑ์นั้นเลยกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการ
มีเป้าหมายของเค้าคือ ให้บริษัทสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคนต้องการได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผ่านการทำงาน 3 ขั้นตอน
1 สร้างผลิตภัณฑ์
2 วัดผล
3 เรียนรู้
แต่ก่อนลงมือทำ เราต้องเริ่มจากขั้นตอนที่ 3 นั่นคือ “เราอยากเรียนรู้อะไร” แล้วตั้งเป็นสมมุติฐานขึ้นมาครับ เช่น
• สมมุติฐาน ของ Ikea : ลูกค้ายินดีจะต่อเฟอร์นิเจอร์ด้วยตัวเองที่บ้าน
• สมมุติฐาน Spotify : ลูกค้ายินดีจะจ่ายเงิน เพื่อจะได้ฟังเพลงออนไลน์แบบไม่จำกัด
เมื่อได้สมมุติฐานแล้ว ก็ให้ลงมือทำ โดยคิดไว้ล่วงหน้าว่าจะวัดผลของผลิตภัณฑ์ได้ยังไง และให้มองว่าการวัดผลคือส่วนหนึ่งของของผลิตภัณฑ์ด้วย
สร้างผลิตภัณฑ์
ขั้นต่อมาคือการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานนั้น
แนวคิดของ Lean startup ถือว่าทุกสิ่งที่ไม่นำไปสู่คำตอบคือสิ่งเปล่าประโยชน์ ดังนั้นเค้าก็เลยให้สร้างผลิตภัณฑ์ที่พอจะใช้งานได้ขึ้นมาเพื่อทดสอบไอเดียก่อน เรียกว่า MVP ย่อมาจาก Minimum Viable Product
หนังสือยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ MVP สามแบบครับ
MVP วิดีโอ
ยังไม่ต้องสร้างสินค้าจริงๆ ก็ได้ แต่ให้ลองทำวิดีโอเพื่อนำเสนอไอเดียขึ้นมา เผยแพร่วิดีโอนั้นออกไป แล้วดูว่ากลุ่มเป้าหมายตอบรับยังไงบ้าง
MVP รุ่นพิเศษ
คือ ทดสอบแนวความคิดจากลูกค้าแค่ไม่กี่คน โดยแก้ปัญหาตามความต้องการของลูกค้าคนนั้น เมื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้าคนนั้นได้สำเร็จ ก็ค่อยๆ ขยายจำนวนลูกค้าขึ้นอย่างช้าๆ
MVP ที่เป็นมนุษย์
เราอาจมีแนวคิดสร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมาซักชิ้นนึง ซึ่งจะให้บริการบางอย่างกับลูกค้า แต่ช่วงแรกที่ลูกค้ายังไม่มาก แทนที่จะเขียนโปรแกรมจริงๆ เบื้องหลังก็เป็นคนที่แหละที่คอยทำสิ่งต่างๆ ไปก่อนก็ได้
สรุปคือ ผลิตภัณฑ์ MVP ที่ว่านี้ เป็นได้ตั้งแต่การตั้งคำถามง่ายๆ เพื่อโยนหินถามทางหรือจะสร้างต้นแบบขึ้นมาโดยมีคุณสมบัติเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อตอบสมมุติฐานที่เราเชื่อว่าจะเกิดขึ้น
แล้วคุณภาพหละ
ถ้าทำสินค้าขึ้นมาเพื่อทดสอบสมมุติฐานแบบนี้ แล้วไม่ต้องสนใจคุณภาพเหรอ
การผลิตที่เน้นคุณภาพ ตั้งอยู่บนฐานที่ว่าเรารู้จักลูกค้าดีพอแล้ว แต่ถ้าเราสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจลูกค้ามากนัก แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าคุณสมบัติแบบไหนที่ลูกค้าต้องการ
หนังสือไม่มีปัญหากับผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงๆ ในทางกลับกัน เป้าหมายของ Lean Startup คือ เรียนรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรอย่างเร็วที่สุด เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่ากับลูกค้าขึ้นมานั่นเอง
วัดผล
เมื่อมีผลิตภัณฑ์ และเริ่มมีคนลองใช้แล้วเราต้องวัดผล ซึ่งตัววัดผลของแต่ละผลิตภัณฑ์ก็ต่างกันไปครับ หนังสือเลยให้แนวทางไว้ว่า ตัววัดผลที่ดี คือ
1. ต้องแสดงสาเหตุและผลลัพธ์ที่นำไปปฏิบัติหรือต่อยอดได้
2. มีหน่วยนับที่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย เช่น จำนวนคนที่ดาวน์โหลดโปรแกรม จำนวนคนที่ใช้บริการแบบไม่เสียเงิน จำนวนคนที่ใช้บริการแบบเสียเงิน
3. ตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่ได้มาเป็นความจริง ในหนังสือแนะนำว่าให้ลองคุยกับลูกค้าจริงๆ บ้าง เพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้ และทำให้เราเข้าใจลูกค้าลูกค้ามากขึ้น ส่วนตัวผมคิดว่าการให้ลูกค้าทำแบบสอบถามเพื่อแลกกับรางวัลก็อาจจะช่วยในส่วนนี้ได้เหมือนกันครับ
จะเดินหน้าต่อ หรือเปลี่ยนแผน
ถ้าผลที่ได้ออกมาแย่ เค้าบอกว่าอย่าเพิ่งยอมแพ้ ให้ลองหาทางปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของคุณต่อไปครับ แต่ถ้าเราปรับปรุงยังไงผลก็ยังไม่เป็นไปตามเป้า นั่นหมายถึงเราอาจตั้งสมมุติฐานผิด ถึงเวลาที่เราต้องตั้งสมมุติฐานใหม่ และเริ่มการทดสอบอีกครั้ง
ถ้าต้องเปลี่ยนแผน มีแนวทางอะไรบ้าง
เราตั้งสมมุติฐานใหม่ ทำการทดลองใหม่ โดยใช้ข้อมูลที่ผ่านมาให้เป็นประโยชน์ได้เลย แต่หนังสือก็แนะนำปัจจัยอื่นที่เอาไปประยุกต์ใช้ได้ คือ
เปลี่ยนกลไกการเติบโตของบริษัท
เค้าบอกว่า ปกติบริษัทจะมีการเติบโต 3 รูปแบบ คือ
1 การเติบโตแบบเหนียวแน่น คือ เน้นรักษาลูกค้าในระยะยาว แบบนี้ต้องอาศัยผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมากๆ เพื่อให้ลูกค้าคงอยู่กับเราไปนานๆ ตัววัดผลที่สำคัญของแนวทางนี้ คือ อัตราการคงอยู่ของลูกค้า และอัตราการสูญเสียลูกค้า
2 การเติบโตแบบไวรัส คือ เป็นวิธีที่ผู้ใช้คนหนึ่ง ชวนให้ผู้ใช้คนอื่นๆ มาใช้ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แนวทางการเติบโตแบบนี้จะไม่เก็บเงินจากลูกค้าโดยตรง แต่ใช้วิธีการอื่นๆ ให้การหาเงิน เช่น การขายพื้นที่โฆษณา ตัวอย่างเช่น Facebook
3 การเติบโตโดยใช้เงิน คือการใช้เงินซื้อโฆษณาหรือจ้างคนออกไปขายเพื่อดึงดูดผู้ใช้ และหวังว่าผู้ใช้จะทำเงินให้เราได้มากกว่าที่จ่ายไป
เปลี่ยนกลุ่มลูกค้า
กลุ่มลูกค้าเดิมอาจไม่ชอบผลิตภัณฑ์ของคุณ แต่กลุ่มลูกค้าใหม่อาจชอบก็ได้ รวมไปถึงเปลี่ยนจากกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนทั่วไป ไปหากลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทก็อาจช่วยได้
การเปลี่ยนแผนไม่ใช่ความล้มเหลว เพราะเราได้เรียนรู้อะไรบางอย่างจากมัน และจะช่วยให้เราพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ในอนาคต
สรุป
หนังสือเน้นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มเป้าหมายต้องการใน 3 ขั้นตอน แต่ผมขอเพิ่มเป็น 4 ขั้นตอน เพื่อให้เข้าง่ายครับ คือ
1 คิดว่าเราอยากเรียนรู้อะไร
2 สร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อเรียนรู้สิ่งนั้น
3 วัดผล
4 แล้วกลับไปสู่การเรียนรู้เพื่อพัฒนาขึ้นไปอีก
One Comment
ลุยยยย🎉