สรุปง่ายๆ กับอ่านเข้าเส้น วันนี้พบกับ 📒 “คัมภีร์หน้าหนา”

28 ตุลาคม 2567



เล่มนี้คือเรื่องราวภารกิจ 100 วันแห่งการถูกปฏิเสธของเจีย เจียง ที่เขาได้ทำขึ้นมา เพราะความอยากฝึกให้ตัวเองมีภูมิคุ้มกันต่อการถูกปฏิเสธ หลังจากที่ออกจากงานเพื่อมาทำธุรกิจส่วนตัว
📝 8 เครื่องมือที่ใช้รับมือกับการถูกปฏิเสธ
1. มองการถูกปฏิเสธในแง่มุมใหม่ ว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ มันสะท้อนถึงตัวตนของผู้ปฏิเสธมากกว่าผู้ถูกปฏิเสธ และยังไม่ควรตัดสินว่าสิ่งใดคู่ควรหรือไม่คู่ควร หรือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับการยอมรับ
2. เมื่อถูกปฏิเสธ ให้ถามว่า “ทำไม” ก่อนบอกลา เพราะจะทำให้เราได้เห็นเหตุผลที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังคำปฏิเสธนั้น พร้อมๆ ไปกับการมองเห็นโอกาสที่จะได้รับการตอบตกลง
3. ให้บอกเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังคำขอของเราที่มีต่ออีกฝ่าย เพราะมันทำให้คำขอดังกล่าวมีโอกาสมากขึ้นที่จะได้รับการตอบตกลง
4. หากเราเป็นผู้ที่ต้องปฏิเสธ เราควรปฏิเสธอย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะจะช่วยลดความรุนแรงลงได้ และที่สำคัญคืออย่าดูถูกคนที่เราปฏิเสธเป็นอันขาด
5. การเสาะหาด้านดีของการถูกปฏิเสธ เช่น ทำให้เกิดแรงจูงใจ ทำให้เกิดการพัฒนาตัวเอง ทำให้เกิดการสร้างนิสัยใหม่ที่เป็นความแข็งแกร่งทางจิตใจ
6. ช่วยให้เกิดการเสาะหาความหมาย เช่น ทำให้เราเข้าใจความเจ็บปวดของการถูกปฏิเสธ หรือทำให้เราได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่หลังการถูกปฏิเสธที่เจ็บปวดมากที่สุด
7. จงมองว่าการขอคือการเสาะหาอิสรภาพ เพราะหลายครั้งเรามักลิดรอนอิสรภาพในการขอสิ่งที่เราต้องการ เพราเรากลัวการถูกปฏิเสธและการตัดสิน
8. การถูกปฏิเสธคือการเสาะหาอำนาจ เพราะการดึงตัวเองออกจากผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น แล้วไปจดจ่ออยู่กับปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น ความพยายามและการกระทำของเราจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จมากขึ้นในระยะยาว
.
เล่มนี้จะทำให้เรารู้เลยค่ะว่า คนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่เดินหน้า และกล้าเดินไปทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการจริงๆ โดยไม่กลัวการถูกปฏิเสธ หรือความล้มเหลวใดๆ
———————-
“คัมภีร์หน้าหนา : Rejection Proof”
ผู้เขียน : Jia Jiang
ผู้แปล : พรรณี ชูจิรวงศ์
ชี้เป้าที่ซื้อ : https://se-ed.com/s/ds2Q
#รีวิวหนังสือ #ชวนอ่าน #อ่านหนังสือ #หนังสือน่าอ่าน #ป้ายยาหนังสือ

No Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *