Death Cleaning ทิ้งก่อนตาย | พื้นที่ชีวิต

23 สิงหาคม 2566



Death Cleaning หรือการเก็บกวาดทำความสะอาดก่อนตาย เป็นแนวคิดของชาวสวีเดนที่ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือ และได้รับความนิยมไปทั่วโลก หลักการของการเก็บกวาดแบบ Death Cleaning มีอะไรบ้าง ? เราควรเริ่มเก็บกวาดก่อนตายเมื่อไหร่ ? การเก็บกวาดก่อนตายทำให้ชีวิตเรามีความสุขมากขึ้นได้อย่างไร ? แนวคิดนี้ต่างจากวิถีของชาว Minimalist หรือการเก็บกวาดแบบมาริเอะ คอนโดะอย่างไรบ้าง ?

ติดตามนิ้วกลม สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ ไปพูดคุยกับนักเขียนหนังสือที่ศึกษาแนวคิดดังกล่าวจากต้นธารประเทศสวีเดน และสำรวจห้างสรรพสินค้ามือสองของสวีเดนที่ใหญ่ที่สุดในโลก การเก็บกวาดความสูญเสียทิ้งสิ่งใดไว้บ้าง ?

ร่วมสำรวจคุณค่าร่วมสมัย ในคำสอนทางจิตวิญญาณ ติดตามชมได้ในรายการ พื้นที่ชีวิต ชุด Degrowth สู่การเติบโตแบบใหม่ ตอน Death Cleaning ทิ้งก่อนตาย วันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 21.45 – 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังทาง http://www.thaipbs.or.th/Life

#ความตาย #นิ้วกลม #พื้นที่ชีวิต
———————————-

👉 กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : http://thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่

Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
TikTok : http://www.tiktok.com/@thaipbs
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

29 Comments

  • @EmmTari 2 กันยายน 2566 at 22:57:45

    ผู้ดำเนินรายการเก่งอ่ะ😊 ‘ติดกับดักความทรงจำ จนไม่สามารถเก็บกวาดต่อไปได้’ โดนมาก ชอบๆ
    บางทีนั่งดูจนลืมเก็บกวาดต่อ😆😅

  • @Kumsuk 2 กันยายน 2566 at 22:58:43

    จริงค่ะเราติดความทรงจำในอดีต ฉันจะไปขึ้นรถสถานนีสามเสน บังเอิญได้ยินเพลงรักล้างของกุ้ง เลยนึกถึงสามีที่เสียไป เพราะก่อนเสียเขาร้องเพลงนี้ให้ฟัง จริงค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

  • @nunidsakulrat3619 2 กันยายน 2566 at 22:59:50

    ดีจังค่ะ ทุกวันนี้ก็ฝึกที่จะกล้าทิ้งของ เพราะไม่อยากเป็นคนแก่ที่หวงของ เหมือนที่พ่อแม่เป็น ของมีล้นบ้านเลยค่ะ

  • @ปว๊ณาพงษ์ดนตรี 3 กันยายน 2566 at 12:20:24

    เป็นวงจรที่สมบูรณ์มากค่ะ อยากให้บ้านเรามีที่ไปของสิ่งของที่เคยมีคุณค่ากับเราไปมากกว่าเป็นขยะ ในสายตาผู้อื่นให้มากขึ้น ตอนนี้ก็กำลังทำ death cleaning อยู่ค่ะ 😂😂

  • @nittayametha9645 3 กันยายน 2566 at 20:27:10

    ดิฉันคิดเหมือนคุณยายเลยค่ะ เราต้องรับผิดชอบตัวเรา อย่าให้คนข้างหลังเดือดร้อน แต่ละคนมีสิ่งของสมบัติมากมายก่ายกอง ถ้าไม่ค่อยใช้ควรกำจัดไปเรื่อยๆ ทำมานานหลายปีแล้วค่ะ

  • @WarinPartita6 4 กันยายน 2566 at 00:40:07

    รายการ​นี้​ดี​เป็นพิเศษ​เลย​ครับ​คุณ​เอ๋​ ขอบคุณ​มาก​ๆ​ ครับ​ ❤😂🎉❤❤❤

  • @หฤทัยไชยเชษฐ์-ฬ4ศ 4 กันยายน 2566 at 09:31:44

    อารมณ์เดียวกับวัดสวนแก้วนะคะ ไปได้ค่ะ เขารับหมดทุกอย่างเลย

  • @praweensiriya2745 4 กันยายน 2566 at 21:26:11

    ลดความอยาก ปล่อยวางและให้ไป ทิ้งสิ่งรกรุงรังไป ตามหลักพุทธศาสนา ก็ไปกันได้ค่ะ การลงมือทำ คือคำตอบ

  • @wannapornsathonphanit2371 5 กันยายน 2566 at 10:09:13

    รายการดีมากค่ะ

  • @aunelm7086 6 กันยายน 2566 at 00:45:57

    ติดถึงคุณนิ้วกลม ไม่ได้ดูรายการนี้มานานมาก คิดว่ามีแต่คนอื่นมาเป็นพิธีกรหมดแล้ว

  • @yonchantheshihtzu 6 กันยายน 2566 at 15:06:19

    อากงที่บ้านสะสมพระเครื่องตั้งแต่หนุ่มๆ ตอนนี้วัยใกล้ร้อยแล้ว เค้าจะแจกพระเครื่องให้ญาติๆ แต่ลูกๆไม่ยอมให้เพราะญาติบางคนคงไม่เห็นคุณค่าที่จะเก็บรักษาไว้ แต่คงจะเอาไปขายเป็นเงินแทน แต่อากงก็จะพยายามให้ๆได้เพราะไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม

  • @itim1234 6 กันยายน 2566 at 16:13:21

    ถ้าสิ่งนั้นหาได้ในร้านมือสอง ลองไปดูที่ร้านก่อน เราอาจจะเจอสิ่งที่ดีกว่านั้นก็ได้ ^____^,,

  • @ทศพรนิรัติศัย 8 กันยายน 2566 at 10:24:38

    คนไทยหรือที่ไหนๆ
    เขาก็ทำกันมาตั้งนานแล้ว ไม่เห็นแปลกอะไร?
    ของที่เราเก็บ มันก็เหมาะกับเรา ไม่ได้เหมาะกับลูก
    บางอย่างที่เราเก็บเอาไว้ ส่วนตัวจริงๆ ถ้าลูกมาเห็นเข้า…
    อาจจะเลิกนับถือเราไปเลยก็ได้ ในบางคน
    เพราะฉะนั้น คนมีความรู้ ความคิด เขาก็ทำกันมานานแล้ว
    และก็ถ่ายทอดกันมาเป็นรุ่นต่อรุ่น…

  • @thipphayongsawasdiphap2215 10 กันยายน 2566 at 02:52:02

    เราเริ่มมานานแล้ว เมื่อก่อนชอบซื้อของประดับบ้านตอนนี้ก็เลิกแล้ว อันไหนให้คนได้ก็จะให้ไป

  • @nasfis 12 กันยายน 2566 at 04:31:09

    จริงๆคือวิธีคิดแบบ เซ็น ที่อยู่แบบเรียบง่าย มีของประกอบบ้านประกอบตัวให้น้อยที่สุด ตามหลักพระพุทธเจ้า คนเรามาแต่ตัว ไปก็ไปแต่ตัว สมบัติผลัดกันชม ใครเคยอ่านนิยายของโกวเล้งจะได้เจอบ่อย อย่าง ฤทธิ์มีดสั้น จะกล่าวถึงเรื่องนี้ทั้งที่นิยายนี่เก่ามากจะร้อยปีได้แล้วมั้ง

  • @naruedeetoom2523 14 กันยายน 2566 at 13:21:31

    ใช่เลยค่ะยังพิจารณาอยู่เลย ว่าจะเอาไปที่ไหนอย่างไร เพราะของที่เก็บไว้อย่างดีสภาพดี interview ครั้งนี้ useful มากแต่ก็ยากจะกำจัดเช่นหนังสือ, แบบเรียนของลูก แต่ก็ต้องทิ้งอยู่ดี

  • @nannapat23 14 กันยายน 2566 at 17:07:08

    ที่สวิสก็มีระบบการจัดการสิ่งของแบบนี้เหมือนกันค่ะ ร้านและตลาดของมือสองเยอะมากแต่ก็ขายดีตลอด หรือให้ฟรีสำหรับผู้ยากไร้หรือผู้รี้ภัย

  • @ราชินไพบูลย์พร 17 กันยายน 2566 at 13:03:58

    เราจะมีวิธีการเอาเสื้อผ้าไปบริจาคได้อย่างไรครับ จะไปไว้ที่ไหนดี ที่ๆจะมีประโยชน์กับคนอื่น

  • @ก็แค่...อยากเม้นท๋ 18 กันยายน 2566 at 10:27:35

    เรื่องเสื้อผ้านี่จริงเลย บอกตัวเอง สัญญากับตัวเองว่าจะเลิกซื้อก็ทำไม่ได้สักที😂😂แต่จะพยายามม

  • @adnanmeesa4350 21 กันยายน 2566 at 10:41:08

    ก็เหมือน Goodswill ที่อเมริกาเลยคับ

  • @guklmoon 21 กันยายน 2566 at 21:37:30

    Some one said to me… " The money like a peper" that time I don't understand but now.. I know.. it s necessary for us just a moment only.. I try to pay my stuff to another one by do not care any more..Thankfull for watching you do this story

  • @learnthaiwithme1041 23 กันยายน 2566 at 07:26:22

    ชอบทุกตอน โดยเฉพาะ อิเกีย มาตั้ง และดอกทิวลิป

  • @kanchanabaumeister757 23 กันยายน 2566 at 15:18:33

    ใช่คะถูกต้องเป็นประโยชน์กับคนที่ชอบซื้อของจะด้วยเหตุอะไรก้ตามความพอใจตอนนั้นไม่มีใครคิด

  • @ตัวคนเดียวในโลก 24 กันยายน 2566 at 11:57:14

    ของไทยก้อวัดสวนแก้วของพระพยอม

  • @เงินทองไหลมาเทมารวยๆ 24 กันยายน 2566 at 20:43:52

    เหมือนแฟนพี่ตอนไม่ได้ทำทุกอย่างตอนได้เขามาไม่เห็นค่าเขาเหมือนเขาไม่มีลมหายใจ

  • @thanapatboonprakarn3955 26 กันยายน 2566 at 09:10:24

    เยี่ยมมากเลยค่ะ ขอบคุณที่ให้แรงบันดาลใจในการทิ้งค่ะ ป้าจะเริ่มทำตั้งแต่วันนี้เป็รต้นไปค่ะ 26 กันยายน 2566 ❤️😍❤️😍❤️😍💪💪🎉🙏🍀🍀

  • @bieziiflow 28 กันยายน 2566 at 08:26:16

    สาระเน้นๆ ชอบมาก👏

  • @1013-5 30 มิถุนายน 2567 at 17:50:13

    23:20 ชอบคำตอบเขา ในไทยไปไหนดี

  • @FreedomAllTimes 14 สิงหาคม 2567 at 11:31:08

    ตอนเกิดมาไม่มีสิ่งของสักชิ้น แต่ตอนจะจากโลกนี้ไปแม้สิ่งของเพียงเล็กน้อยยังยากจะทำใจพลัดพรากจากลา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *