เรามาถึงจุดที่กดหนังสือใส่ตระกร้า 2-3 เล่ม ก็อาจเสียเงินเหยียบพันได้แบบไม่ทันตั้งตัว และแม้มหกรรมงานหนังสือจะมีส่วนลดมากมาย แต่ก็อาจได้หนังสือติดไม้ติดมือกลับมาแค่ไม่กี่เล่มทั้งที่กำเงินไปตั้งพันบาท คำถามคือหากบางคนอาจไม่มีรายได้มากพอ จะยังเข้าถึงหนังสือได้อยู่ไหม
ที่จริงแล้ว หนังสือราคาแพงไม่ใช่เพราะว่าขายแพง แต่ต้นทุนการทำหนังสือสวนทางกับรายได้ในบ้านเราที่ยังไม่ขยับไปไหน การมีอยู่ของห้องสมุดสาธารณะทุกคนเข้ามาใช้งานได้ฟรี จึงสำคัญมาก เพราะนี่คือหนึ่งในที่ที่ทำให้ทุกคนยังเข้าถึงหนังสือดีๆ หนังสือที่ตรงกับความชอบ หรือหนังสือที่หลากหลายได้อย่างเท่าเทียม
ทุกวันนี้ห้องสมุดสาธารณะปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามยุคสมัยมากขึ้น ทั้งมานั่งทำงานแบบเป็นกลุ่มได้ เอาข้าวน้ำขนมมานั่งกินได้ เป็นพื้นที่เรียนรู้ของชุมชน รวมถึงเป็นที่จัดงานนิทรรศการต่างๆ เรียกว่าห้องสมุดเป็นมากกว่าที่อ่านหนังสือ แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทำให้คนเมืองได้นำความรู้มาพัฒนาเมืองต่อไป เพราะการอ่านเป็นรากฐานสำคัญของทุกๆ เรื่องนั่นเอง
ห้องสมุดมีความเป็นมายังไง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.25 ตอนนี้
Spotify : https://spoti.fi/4f0DAbS
Apple Podcast : https://apple.co/3Y2IC0F
#HealthySpaceForum #HSF #Capital #CapitalCity #PodcastCapitalCity #bookexpo #book #library #ห้องสมุด #ห้องสมุดสาธารณะ
No Comments