เครื่องแบบสีขาว บทที่41-45/60 บทประพันธ์-ศรีฟ้า ลดาวัลย์ @Mermaid2520 #หนังสือเสียง #นวนิยายเสียง

8 พฤศจิกายน 2567



เครื่องแบบสีขาว บทที่41-45/60 บทประพันธ์-ศรีฟ้า ลดาวัลย์ @Mermaid2520 #หนังสือเสียง #นวนิยายเสียง
เครื่องแบบสีขาว บทที่41-45/60 สนพ.โชคชัยเทเวศร์ พิมพ์ครั้งที่2 พ.ศ.2534 @Mermaid2520
สมัยที่แอดมินเข้าๆออกๆร้านเช่าหนังสือ จำต้องหยิบนวนิยายของท่านทุกรอบ ชลาลัย และ เกตุวดี
ตั้งแต่เกิด แอดมินก็ได้ยินและรู้จักนามปากกานี้แล้ว ปูชนียบุคคลอีกหนึ่งดท่านด้านนักประพันธ์ชื่อดังของเมืองไทย และอีกหนึ่งนักเขียนที่แอดมินชื่นชอบในงานเขียนที่อ่านง่ายๆ สบายๆ ไม่ต้องคิดอะไรสลับซับซ้อนให้มากนัก เชื่อว่าในยุคสมัยที่ยังไม่มีอินเตอร์เนตเช่นทุกวันนี้ หลายๆท่านคงเสพสื่อ เสพความสนุกจากการอ่านหนังสือ เชื่อเหลือเกินว่าใครที่คิดถึงตัวเองสมัยเรียนหนังสือ ที่เทียวหาความบันเทิงจาการเข้าๆออกร้านเช่าหนังสือ ยิ่งในช่วงวัยเราชาวยุค ‘70 ‘80 ‘90 จะต้องคุ้นเคยนามปากกานี้เป็นอย่างดี หวังว่าทุกท่านที่เข้ามารับฟังจะชอบกับเรื่องที่แอดมินนำมาฝากกันในวันนี้ อย่าลืม กดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ กดแจ้งเตือนสำหรับคลิปต่อไปด้วยนะครับ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ (26 มกราคม พ.ศ. 2473 – 16 เมษายน พ.ศ. 2556) นักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น และสารคดีเกี่ยวชีวิตเจ้านายในวัง เจ้าของนามปากกา “ศรีฟ้า ลดาวัลย์” “สีฟ้า” และ “จุลลดา ภักดีภูมินทร์” ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2539 และมีผลงานเล่มแรกคือเรื่อง ปราสาทมืด
หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ มีนามเดิมว่า หม่อมหลวงศรีฟ้า ลดาวัลย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2473 ที่วังมหาสวัสดิ์ เป็นธิดาของหม่อมราชวงศ์สนั่น ลดาวัลย์ (โอรสหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ กับหม่อมห่วง ลดาวัลย์ ณ อยุธยา) กับนางบัวจันทร์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา โดยมารดาเสียชีวิตไปตั้งแต่ท่านอายุได้ 5 ขวบ หม่อมหลวงศรีฟ้ามีน้องสาว คือ หม่อมหลวงศรีทอง ลดาวัลย์ (ถึงแก่กรรม) ซึ่งเป็นนักเขียนเช่นกัน ใช้นามปากกาว่า “ข.อักษราพันธ์” เป็นผู้เขียนนวนิยายเรื่อง ภาพอาถรรพณ์ , ดาวพระศุกร์ , ดอกโศก , พลับพลึงสีชมพู , มรสุมสวาท , โรงแรมวิปริต และ สายรักสายสวาท
หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ เริ่มงานเขียนเรื่องสั้นตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมปลายเมื่อ พ.ศ. 2489 ใช้นามปากกา “ภัฏฏินวดี” ตีพิมพ์ในนิตยสารเดลิเมล์ และไทยใหม่ ต่อมาได้ใช้นามปากกา “จุลลดา ภักดีภูมินทร์” เขียนนวนิยายเรื่อง “ปราสาทมืด” ตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์ เมื่อ พ.ศ. 2498 ได้รับความนิยมมาก ตีพิมพ์ใหม่หลายสิบครั้ง และมีผู้นำไปสร้างภาพยนตร์ไทยและละครโทรทัศน์หลายครั้ง ต่อมาได้ใช้นามปากกา “ศรีฟ้า ลดาวัลย์” เขียนเรื่องสั้น และนวนิยาย ส่วนนามปากกา “จุลลดา ภักดีภูมินทร์” ใช้เขียนนวนิยายชีวิตครอบครัว ในระยะหลังได้ใช้นามปากกานี้ เขียนสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของเชื้อพระวงศ์ในวัง ตีพิมพ์ในนิตยสารสกุลไทย [1] หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ เขียนนวนิยายสะท้อนสังคม โดยใช้นามปากกาว่า “สีฟ้า” ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ตั้งให้โดยมานิต ศรีสาคร (สีน้ำ) เป็นนามปากกาที่สร้างชื่อเสียง ผลงานได้รับรางวัล และถูกนำไปสร้างภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก เช่นเรื่อง “วงเวียนชีวิต” “ข้าวนอกนา” “ทำไม” “แผ่นดินนี้ยังรื่นรมย์” “ใต้ฟ้าสีคราม” “เศรษฐีนี” “ตะวันไม่เคยเลยลับ” โดยเฉพาะเรื่องข้าวนอกนา และ ใต้ฟ้าสีคราม ได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นโดยมูลนิธิโตโยต้า และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์
หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ ถึงแก่กรรมเมื่อเวลา 17.45 น. ของวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556 ด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สิริอายุได้ 83 ปี 2 เดือน 21 วัน [2] โดยทายาทและลูกศิษย์ได้กำหนดจัดสวดพระอภิธรรมที่ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งแต่วันที่ 18-24 เมษายน โดยมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 100 วัน และขอพระราชทานเพลิงศพ
@Mermaid2520
@ร้อยฝันพันเรื่องเล่า
#นวนิยายเสียง
#อ่านนวนิยาย
#นวนิยายไทยสมัยเก่า
#หนังสือเสียง
#นักเขียนไทย

No Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *