#ซีไรต์ – รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 ซึ่งก่อตั้งโดยประเทศไทย เพื่อมอบรางวัลให้แก่นักเขียนจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทำงานเขียนประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ โดยในแต่ละปีจะกำหนดการมอบรางวัลให้อย่างละประเภท ซึ่งปี พ.ศ. 2567 เป็นรอบของงานเขียนประเภทนวนิยาย และนิยายเรื่อง #กี่บาด ผลงานของประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด ได้รับรางวัลซีไรต์ของปีนี้
#หลบมุมอ่าน ชวน จรูญพร ปรปักษ์ประลัย นักเขียนบทภาพยนตร์และละครซีรีส์ นักวิจารณ์ อาจารย์พิเศษ และวิทยากรด้านการเขียน ผู้ทำงานในแวดวงวรรณกรรมและสื่อมากกว่า 30 ปี มาร่วมพูดคุยเพื่อ #ส่องสะท้อนซีไรต์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือผลงานเข้ารอบ 8 เล่มสุดท้ายของปี 2567 ว่ามีข้อค้นพบอะไร จากนั้นจะชวนมองไปถึงงานเขียนประเภทชายรักชาย, หญิงรักหญิง, Light Novel การทำงานข้ามศาสตร์จากงานเขียนสู่ซีรีส์และภาพยนตร์ รวมถึงวรรณกรรมไทยกับบริบทโลกอย่างการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ
“ซีไรต์ก็เป็นวรรณกรรมหลักอันหนึ่ง ที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย ทั้งในเชิงของตัวเนื้อหา และในเชิงของตัวศิลปะการเขียนนวนิยาย” – จรูญพร ปรปักษ์ประลัย กล่าว
👉 กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ https://www.youtube.com/c/ThaiPBSPodcast
👉 ติดตามทุกความเคลื่อนไหว อัปเดตและฟังก่อนใครได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมงที่
เว็บไซต์, แอปพลิเคชัน, โซเชียลมีเดีย และพอดคาสต์ช่องทางอื่น ๆ ของ Thai PBS Podcast
#ThaiPBSPodcast
#ThaiPBS
No Comments