คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
“แค่จัดระเบียบความคิดเป็น จะสื่อสารอะไรก็ได้ดั่งใจ”
#รีวิวหนังสือ #สรุปหนังสือ #podcast #bookreview #สรุปหนังสือpodcast
สนพ : BINGO
เขียน : อุเมะดะ ซาโตชิ
แปล : บัณฑิต ประดิษฐานุวงษ์
“คุยงานจริงจังทีไร สื่อไอเดียให้อีกฝ่ายเข้าใจตรงกันไม่ได้สักที”
“พยายามอธิบายเรื่องยากให้ง่าย แต่ก็ไม่รู้จะพูดยังไง”
“อยากจะโพสเล่าเรื่อง แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน”
– ฉีกกฎ ฉีกหลักการว่าด้วยเรื่องของหลักการสื่อสารขั้นเทพทุกๆข้อไปก่อน
เพราะหนังสือเล่มนี้คือแก่นแท้ ที่แน่นอน (กว่า) คือจุดเริ่มต้นของสสารเลยก็ว่าได้
เพียงก่อนจะรวบรวมเป็นภาพใหญ่ ไอจุดแต่ละจุดเราเข้าใจมันดีรึยัง ?
หรือพูดง่ายๆ เราจะอธิบายเรื่องราว สื่อสาร โน้มน้าว หรือขายของ “เราเข้าใจในทุกมิติของเรื่องนั้นมากพอรึยัง?” เราเชื่อมต่อจุดต่างๆเป็นภาพใหญ่ได้รึยัง
“ถ้าเรารู้รอบ รู้ลึก รู้จริงและอินตาม” การพูดมันจะเป็นธรรมชาติมาก
และความธรรมชาตินั่นแหละ คือจุดพีคของการโน้มน้าวตามโดยธรรมชาติด้วยเช่นกัน
อย่างแรกที่คุณอุเมะดะแนะนำคือ
1.การใช้ “ปากกาหัวใหญ่”
“ ความใหญ่ของตัวหนังสือ=ความเชื่อมั่นในตัวเอง”
2. เขียนสิ่งที่อยู่ในหัวใส่กระดาษ อย่าใสลงสมุด
3. คิดต่อด้วย “วิธีคิดรูปตัว T” คือการทวนซ้ำว่า “จริงหรือไม่? ทำไม? แล้วไง? ”
4. จับกลุ่มกระดาษสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน
5.ลองอุดช่องโหว่ของแต่ละกลุ่ม อะไรขาดอะไรเกิน
6.ต่อยอดความคิด หรือลงดีเทลเพิ่มในแต่ละกลุ่ม หรือขยายความก็ได้
7.ลองคิดตรงกันข้าม กับสิ่งที่เราเขียน จะช่วยขยายามุมมองความคิดของเราได้เยอะขึ้น
8.ลองคิดจากมุมคนอื่นดู วิธีนี้จะทำให้พบกับความคิดที่เราอาจคาดไม่ถึงก็ได้
9.อย่ากดดันตัวเองว่าต้องตอบให้ได้ไวที่สุดทุกข้อ อย่ารอให้ว่างค่อยทำ เพราะจะ=ไม่ว่างก็ไม่ทำ %การทำมันจะน้อยกว่า
10.การอธิบายโดยละเอียด ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เข้าใจมากขึ้น
11.ให้ลองอ่านออกเสียง หรือลองพูดให้ตัวเองฟังดู
การสื่อสารเปรียบเหมือนการปรุงอาหารเริสรส
ถ้าวัตถุดิบดี(ความคิด) วิธีการปรุง (การพูด) ก็ไม่ต้องทำอะไรกับมันมาก
เชฟที่ปรุงอาหารโดยน้อย เพื่อชูรสชาติวัตถุดิบเด่นให้มาก ย่อมมีค่ามีราคามากกว่า อาหารที่ปรับแต่งให้อร่อย แต่เอาอะไรทำให้เรากินก็ไม่รู้ จริงมั๊ย ?
No Comments