พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต)… #อนุชิตชาญชัย #สวัสดิ์-ชูโต #รัชกาลที่6 #มหาดเล็ก #shorts

6 พฤศจิกายน 2567



คุณหญิงอนุชิตชาญชัย (อิง สวัสดิ์-ชูโต) ภรรยาพระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) ผู้ช่วยสมุหพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2463

พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) เป็นบุตรพระยาสุรนารถเสนี (เป๋า) และขาบมารดา ในวงศ์ราชนิกูลสืบแต่เจ้าคุณชูโต ผู้เป็นเชษฐาของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (นาค) ในรัชกาลที่ 1

เจ้าจอมมารดาเยื้อน ในรัชกาลที่ 5 นำถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อ พ.ศ. 2435

พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) เป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไว้วางพระราชหฤทัย และโปรดปรานมากคนหนึ่ง จึงทำให้ชีวิตราชการเจริญก้าวหน้าตามลำดับ

แต่เนื่องจากเป็นคนมีอุปนิสัยเถรตรง และถ้าหากแน่ใจว่าตนเองอยู่ในฐานะที่ถูกต้องแล้วจะไม่ยินยอมโอนอ่อนผ่อนปรนให้แก่ใครทั้งสิ้น ซึ่งจากอุปนิสัยส่วนตัวข้อนี้เองเป็นสาเหตุให้พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) ต้องออกจากราชการ

โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสแหลมมลายู พ.ศ. 2467

ดังที่พันเอก เรวัติ เตมียบุตร อดีตนักเรียนมหาดเล็กหลวง บันทึกไว้ใน “เรื่องจริงในอดีต” ในหนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ นายประวิตร บัณฑุรัตน์ ความว่า

“…ในวันที่ผู้ว่าราชการสิงคโปร์ทูลเชิญเสด็จเสวยที่ “แรฟเฟิลโฮเต็ล” พร้อมด้วยข้าราชบริพาร เขาได้ทำการ์ดชื่อวางไว้ที่โต๊ะและจัดรถไปรับ เจ้าพระยารามราฆพบอกให้พระวิเศษพจนกร (ต่อมาเป็นพระไผทสถาปิต) เป็นผู้บอกชื่อให้ฝรั่งจด
บังเอิญลืมบอกไปเสีย ๖-๗ คน คือ ๑. พระยาอนุชิตชาญชัย ๒. พระยาอิศรา ๓. จมื่นเสมอใจราช ๔. นายจ่าเรศ (ในรัชกาลที่ ๗ เป็นพระนายสรรเพ็ชร) ๕. นายขันหุ้มแพร (ม.ร.ว.มานพ) ๖. นายเสนอหุ้มแพร (ในรัชกาลที่ ๗ เป็นพระมหาเทพ) ๗. พระดรุณรักษา ทั้ง ๗ คนจึงไม่มีชื่อนั่งโต๊ะและไม่มีรถมารับ เพราะรถเขาก็แขวนป้ายบอกชื่อคนนั่งด้วยเหมือนกัน เป็นอันว่าท่านทั้ง ๗ คนไม่ได้ไปแน่นอน จึงปรึกษาเห็นชอบพร้อมกันว่าไปหาอะไรกินเองและเที่ยวกันดีกว่า

ในหลวงทรงพระพิโรธด้วยทรงคิดว่า ที่มิได้ทรงเห็นบุคคลดังกล่าว ทรงคิดว่าไม่มีความจงรักภักดีและคงไปเที่ยวหาผู้หญิงกันหมด อ้ายพวกนี้อาศัยการตามเสด็จมาเที่ยวเตร่กัน ณ ที่โต๊ะเสวย ทันใดนั้นเจ้าพระยาธรรมาฯ ก็ได้กราบทูลว่า

“เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรป ได้เคยมีมหาดเล็กตามเสด็จและประพฤติเช่นนี้ พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงโปรดให้ส่งกลับเมืองไทย มีมาแล้วเป็นตัวอย่าง”
ในหลวงจึงรับสั่งอย่างทันทีว่า “นั่น ! ต้องเอาอย่างนั้น”

แล้วรับสั่งให้เจ้าพระยาธรรมาฯ จัดการส่งมหาดเล็กทั้ง ๗ คนนั้นกลับกรุงเทพฯ
วันรุ่งขึ้น มหาดเล็กที่จะต้องถูกส่งตัวกลับกรุงเทพฯ ได้พากันเข้าเฝ้าขอพระราชทานอภัยโทษ โดยให้เจ้าคุณอนุชิตชาญชัยเป็นหัวหน้านำ เจ้าคุณอนุชิตฯ และมหาดเล็กเข้าไปรออยู่ในห้องพระบรรทม เห็นว่านานนักจึงขึ้นไปบนพระที่ เจ้าคุณอนุชิตฯ ก็ปลุกพระบรรทมและกราบทูลความจริงที่ไม่ได้รับเชิญจึงไม่ได้ไปนั่งร่วมโต๊ะเสวย พระองค์ไม่ทรงเชื่อ ดังนั้น ต่างก็กราบถวายบังคมลากลับ

เว้นแต่พระดรุณรักษายังหมอบเฝ้าและขอพระราชทานอภัยโทษจนได้ ประจวบเหมาะกับเวลานั้นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เสด็จมาถึงทรงทราบเรื่องราว ได้ช่วยกราบทูลขอให้ทรงยกโทษ แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่งกลับซึ่งมีเจ้าพระยาธรรมาฯ พระยาปฏิพัทธ์ภูบาลได้ดำเนินไปตามพระกระแสรับสั่งเสียแล้ว จึงเป็นอันว่าท่านทั้ง ๗ ต้องถูกส่งกลับกรุงเทพฯ

ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ แล้ว พระยาอนิรุทธเทวาได้บอกให้บรรดา ๗ สหาย ที่ถูกส่งกลับจากสิงคโปร์เข้าเฝ้าขอพระราชทานอภัยโทษเสียให้แน่นอน

เวลานั้นนั่งอยู่พร้อมเฉพาะพระพักตร์แล้ว เพียงแต่ลุกจากเก้าอี้เข้าไปกราบพระบาทกราบทูลขออภัยโทษก็เพียงพอแล้ว พระดรุณรักษาได้เป็นคนแรกที่ลุกขึ้นไปเฝ้าตามคำแนะนำของพระยาอนิรุทธฯ ต่อๆ มาก็พระยาอิศราฯ เจ้าหมื่นเสมอใจราช นายจ่าเรศ นายขันหุ้มแพร และนายเสนอหุ้มแพร ตามกันไปเป็นลำดับ

พระยาอนุชิตชาญชัยคนเดียว ไม่ยอมไปขออภัยนั่งสูบไป๊เฉยอยู่ ต่อให้ใครๆ ไปบอกก็ไม่ยอมเชื่อ พร้อมกับพูดว่า
“ผมไม่มีความผิด จะไปขอโทษทำไม?”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นว่าเจ้าคุณอนุชิตฯ ดื้อไม่ยอมขอโทษ ก็ทรงพระพิโรธถึงกับรับสั่งว่า จองหอง ไม่ขอเห็นหน้า ห้ามไม่ให้เข้าเฝ้าอีกต่อไป
พระยาอนุชิตฯ ก็ได้ลงกราบถวายบังคมลา แล้วฉวยหมวกออกเดินไปขึ้นรถยนต์กลับบ้านเลย และโดยไม่แยแส ไม่มาเฝ้าอีกต่อไป…”

จากนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปลด พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) ออกจากราชการรับพระราชทานเบี้ยหวัดเป็นกองหนุน ตาม มาตรา ๒ (ก.) ของพระราชบัญญัติกองหนุนข้าราชการในพระราชสำนัก ร.ศ. ๑๓๑ เพื่อเป็นการลงโทษให้ลดทิฐิมานะส่วนตัวลงเสียบ้าง

ซึ่งพระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) น่าจะทราบพระราชประสงค์ในข้อนี้ดี แม้จะไม่ได้เข้าเฝ้าถวายงานรับใช้ใกล้ชิดอีก แต่ยังมีความจงรักภักดีอย่างไม่เสื่อมคลาย
จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรใกล้สวรรคต ก็ได้มาเฝ้าฟังพระอาการและนอนค้างที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณทุกคืนดังเช่นข้าราชบริพารใกล้ชิดคนอื่นๆ จนกระทั่งเสด็จสวรรคต

……………………………………………
ขอขอบพระคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามรับชมรับฟังนะครับ ร่วมกันช่วยอนุรักษ์งานศิลป์แผ่นดินอีสานของเรา และเป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำ กดไลค์ กดแชร์ ให้ผมด้วยนะครับ ฝากติดตามด้วยครับ…..

อย่าลืมกดติดตามช่องนะครับ :
https://www.youtube.com/c/ArtnanaStudio
https://www.youtube.com/@esanart-travel

หอศิลป์ เดอะ แด็ก : https://artist.artnana.com
อาร์ตนานา สตูดิโอ : https://www.artnana.com

ขอบคุณครับ
พัฒยา จันดากูล

One Comment

  • @esanart-travel 6 พฤศจิกายน 2567 at 01:44:55

    ดังที่พันเอก เรวัติ เตมียบุตร อดีตนักเรียนมหาดเล็กหลวง บันทึกไว้ใน “เรื่องจริงในอดีต” ในหนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ นายประวิตร บัณฑุรัตน์ ความว่า

    “…ในวันที่ผู้ว่าราชการสิงคโปร์ทูลเชิญเสด็จเสวยที่ “แรฟเฟิลโฮเต็ล” พร้อมด้วยข้าราชบริพาร เขาได้ทำการ์ดชื่อวางไว้ที่โต๊ะและจัดรถไปรับ เจ้าพระยารามราฆพบอกให้พระวิเศษพจนกร (ต่อมาเป็นพระไผทสถาปิต) เป็นผู้บอกชื่อให้ฝรั่งจด

    บังเอิญลืมบอกไปเสีย ๖-๗ คน คือ ๑. พระยาอนุชิตชาญชัย ๒. พระยาอิศรา ๓. จมื่นเสมอใจราช ๔. นายจ่าเรศ (ในรัชกาลที่ ๗ เป็นพระนายสรรเพ็ชร) ๕. นายขันหุ้มแพร (ม.ร.ว.มานพ) ๖. นายเสนอหุ้มแพร (ในรัชกาลที่ ๗ เป็นพระมหาเทพ) ๗. พระดรุณรักษา ทั้ง ๗ คนจึงไม่มีชื่อนั่งโต๊ะและไม่มีรถมารับ เพราะรถเขาก็แขวนป้ายบอกชื่อคนนั่งด้วยเหมือนกัน เป็นอันว่าท่านทั้ง ๗ คนไม่ได้ไปแน่นอน จึงปรึกษาเห็นชอบพร้อมกันว่าไปหาอะไรกินเองและเที่ยวกันดีกว่า

    ในหลวงทรงพระพิโรธด้วยทรงคิดว่า ที่มิได้ทรงเห็นบุคคลดังกล่าว ทรงคิดว่าไม่มีความจงรักภักดีและคงไปเที่ยวหาผู้หญิงกันหมด อ้ายพวกนี้อาศัยการตามเสด็จมาเที่ยวเตร่กัน ณ ที่โต๊ะเสวย ทันใดนั้นเจ้าพระยาธรรมาฯ ก็ได้กราบทูลว่า

    “เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรป ได้เคยมีมหาดเล็กตามเสด็จและประพฤติเช่นนี้ พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงโปรดให้ส่งกลับเมืองไทย มีมาแล้วเป็นตัวอย่าง”

    ในหลวงจึงรับสั่งอย่างทันทีว่า "นั่น ! ต้องเอาอย่างนั้น”

    แล้วรับสั่งให้เจ้าพระยาธรรมาฯ จัดการส่งมหาดเล็กทั้ง ๗ คนนั้นกลับกรุงเทพฯ

    วันรุ่งขึ้น มหาดเล็กที่จะต้องถูกส่งตัวกลับกรุงเทพฯ ได้พากันเข้าเฝ้าขอพระราชทานอภัยโทษ โดยให้เจ้าคุณอนุชิตชาญชัยเป็นหัวหน้านำ เจ้าคุณอนุชิตฯ และมหาดเล็กเข้าไปรออยู่ในห้องพระบรรทม เห็นว่านานนักจึงขึ้นไปบนพระที่ เจ้าคุณอนุชิตฯ ก็ปลุกพระบรรทมและกราบทูลความจริงที่ไม่ได้รับเชิญจึงไม่ได้ไปนั่งร่วมโต๊ะเสวย พระองค์ไม่ทรงเชื่อ ดังนั้น ต่างก็กราบถวายบังคมลากลับ

    เว้นแต่พระดรุณรักษายังหมอบเฝ้าและขอพระราชทานอภัยโทษจนได้ ประจวบเหมาะกับเวลานั้นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เสด็จมาถึงทรงทราบเรื่องราว ได้ช่วยกราบทูลขอให้ทรงยกโทษ แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ส่งกลับซึ่งมีเจ้าพระยาธรรมาฯ พระยาปฏิพัทธ์ภูบาลได้ดำเนินไปตามพระกระแสรับสั่งเสียแล้ว จึงเป็นอันว่าท่านทั้ง ๗ ต้องถูกส่งกลับกรุงเทพฯ

    ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ แล้ว พระยาอนิรุทธเทวาได้บอกให้บรรดา ๗ สหาย ที่ถูกส่งกลับจากสิงคโปร์เข้าเฝ้าขอพระราชทานอภัยโทษเสียให้แน่นอน

    เวลานั้นนั่งอยู่พร้อมเฉพาะพระพักตร์แล้ว เพียงแต่ลุกจากเก้าอี้เข้าไปกราบพระบาทกราบทูลขออภัยโทษก็เพียงพอแล้ว พระดรุณรักษาได้เป็นคนแรกที่ลุกขึ้นไปเฝ้าตามคำแนะนำของพระยาอนิรุทธฯ ต่อๆ มาก็พระยาอิศราฯ เจ้าหมื่นเสมอใจราช นายจ่าเรศ นายขันหุ้มแพร และนายเสนอหุ้มแพร ตามกันไปเป็นลำดับ

    พระยาอนุชิตชาญชัยคนเดียว ไม่ยอมไปขออภัยนั่งสูบไป๊เฉยอยู่ ต่อให้ใครๆ ไปบอกก็ไม่ยอมเชื่อ พร้อมกับพูดว่า

    “ผมไม่มีความผิด จะไปขอโทษทำไม?”

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นว่าเจ้าคุณอนุชิตฯ ดื้อไม่ยอมขอโทษ ก็ทรงพระพิโรธถึงกับรับสั่งว่า จองหอง ไม่ขอเห็นหน้า ห้ามไม่ให้เข้าเฝ้าอีกต่อไป

    พระยาอนุชิตฯ ก็ได้ลงกราบถวายบังคมลา แล้วฉวยหมวกออกเดินไปขึ้นรถยนต์กลับบ้านเลย และโดยไม่แยแส ไม่มาเฝ้าอีกต่อไป…”

    จากนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปลด พระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) ออกจากราชการรับพระราชทานเบี้ยหวัดเป็นกองหนุน ตาม มาตรา ๒ (ก.) ของพระราชบัญญัติกองหนุนข้าราชการในพระราชสำนัก ร.ศ. ๑๓๑ เพื่อเป็นการลงโทษให้ลดทิฐิมานะส่วนตัวลงเสียบ้าง

    ซึ่งพระยาอนุชิตชาญชัย (พงษ์ สวัสดิ์-ชูโต) น่าจะทราบพระราชประสงค์ในข้อนี้ดี แม้จะไม่ได้เข้าเฝ้าถวายงานรับใช้ใกล้ชิดอีก แต่ยังมีความจงรักภักดีอย่างไม่เสื่อมคลาย

    จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรใกล้สวรรคต ก็ได้มาเฝ้าฟังพระอาการและนอนค้างที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณทุกคืนดังเช่นข้าราชบริพารใกล้ชิดคนอื่นๆ จนกระทั่งเสด็จสวรรคต

    ……………………………………………

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *